หน่วยการเรียนที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศ
นวัตกรรม –
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า
“นว” หมายถึง
ใหม่
“กรรม” หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม
จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ
ซึ่งในที่นี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้
มอตัน (Morton,
J.A. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้นิยามของนวกรรมไว้ในหนังสือ Organising for Innovation ของเขาว่านวกรรม หมายถึงการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ
นวตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง
และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521
: 14) ได้กล่าวไว้ว่า นวกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ
ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา
หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเล่านี้ได้รับการทดลอง
พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ
ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
วสันต์ อติศัพท์ (2523
: 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง
ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas
Hughes, 1971) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ
มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว
โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา
(Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot
project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
โทดาโร (Todaro)
(อ้างในปุระชัย : 2529) ให้ความหมายว่า หมายถึง
ประดิษฐ์กรรม (Innovation) หรือการค้นพบสิ่งใหม่
เช่นผลผลิตใหม่ กระบวนการใหม่ ตลอดจนแนวคิดในการหาหนทางที่จะนำเอาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน แนวใหม่
ไมล์ แมทธิว (Miles
Matthew B. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 14) ได้กล่าว ถึง นวกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า “นวกรรม หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล”
โรเจอร์ และชูเมคเกอร์ (Rogers
and Shoemaker. 1971 : 19) ให้ความหมายไว้ว่า
เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติ ซึ่งผ่านการทดลอง และได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น
ๆ ตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ
(Development)และทดลองในวงแคบ (Pilot Project) แล้วจึงนำมาใช้ปฏิบัติจริง โดยการปฏิบัติจะ
แตกต่างจากเดิม
กิดานันท์ มลิทอง (2540
: 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิ-
ภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521
: 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักการวิธีปฏิบัติ
และแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่ง
อาจจะเป็นนวัตกรรม ของประเทศอื่นก็ได้
และสิ่งที่ถือว่าเป็นวัตกรรมแล้วในอดีตหากมีการใชักันอย่างแพร่หลาย
แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตหากมีการนำ
มาปรับปรุงใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
สิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520
:37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม”
ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง
ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง
ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่
มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ
เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว
กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ
กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง
สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป
จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
วสันต์ อติศัพท์ (2523
: 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง
ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
สวัสดิ์ บุษปาคม (2517
: 1) กล่าวว่า นวัตกรรมหมายถึง การปฏิบัติ หรือกรรม
วิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมให้ดียิ่งขึ้น
คือทำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2514
: 4) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง
การเลือกการจัดและการใช้ทรัพยากรทั้งบุคคลและวัสดุอย่างชาญฉลาดในวิถีทางใหม่ ๆ
ซึ่งเป็นผลให้
ได้รับความสำเร็จที่สูงกว่าและความสำเร็จนั้นเป็นความสำเร็จในจุดประสงค์ที่วางไว้
และ หมายรวมถึงการนำสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นความคิด วิธีการ ระบบความรู้
หรือเทคโนโลยี เข้ามาเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงของที่มีอยู่เดิมให้ผลดียิ่งขึ้น
โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป
ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
-
การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
-
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-
เครื่องสอน (Teaching Machine)
-
การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
-
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-
เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้
เช่น
-
ศูนย์การเรียน (Learning Center)
-
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within
School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่
สนองแนวความคิด เช่น
-
การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
-
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
-
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text
Book)
-
การเรียนทางไปรษณีย์
4.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
-
มหาวิทยาลัยเปิด
-
การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
-
การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
-
ชุดการเรียน
ความหมายของเทคโนโลยี
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology"
ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า
การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า
วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ
"วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย
ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16)
ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ
หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม
ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง
ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง
ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์
และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์
เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ
มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ
เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่
และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม
และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม
หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ
และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง
โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย
นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ
จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า
ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง
วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม
หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จาก การที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี
หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ
มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง
การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
เทคโนโลยีมี 4 ระดับ ได้แก่
1. เทคโนโลยีระดับเบื้องต้น สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ
หรือสามารถพัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ตู้เย็น โทรศัพท์
เป็นต้น
2. เทคโนโลยีระดับกลาง มักต้องซื้อจากต่างประเทศ
แต่สามารถพัฒนาได้ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เช่น โทรทัศน์
เครื่องเสียง เป็นต้น
3. เทคโนโลยีระดับสูง ต้องซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ
แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ เช่น
คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
4. เทคโนโลยีระดับสูงมาก ต้องซื้ออุปกรณ์ และทักษะการใช้งานจากต่างประเทศ
เช่น ระบบคมนาคมสื่อสารขนาดใหญ่
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี มีความสำคัญ
3 ประการ คือ
1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่
ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน
ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก
ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์
และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation)
ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่
ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกทีเ รียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที
สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์
ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอ
นิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and
Information หรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน
สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย
และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้
“เล็กลง” ทุกขณะ
วิวัฒนาการเทคโนโลยี (Evolution
of Technolgy)
เทคโนโลยี
มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปขั้นตอนการเปลี่ยนนแปลงขึ้นอยู่กับกระบวนการทางวิวัฒนาการ
(Evolution)
ของระบบหรือเครื่องมือนั้นๆ ดังนั้นคำว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยี
(Evolution of Technology) จึงหมายถึง
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ
วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น 5
ยุค
- ยุคหิน (Stone age)
- ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
- ยุคเหล็ก (Iron age)
- ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial
Revolution)
- ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th
Century)
ระบบสารสนเทศ (Information
system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่
ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ
ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา
ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล
ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ
และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ
การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง
ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ
เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร
ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์
(Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ
(Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า
ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system
–CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ
มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ
และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS
105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ
ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO
Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ
ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน
เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล
ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้
(Information system, 2005)
สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ
ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
Laudon & Laudon (2001) ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร
ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations) การจัดการ
(management) และเทคโนโลยี
(Technology)
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ
และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ
กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน
ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร
จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon,
2001)
1.ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level
systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร
เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น
วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน
และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)
ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้
และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
3.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ
และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
4.ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง
ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว
หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี
เช่นในอีก 5 ปีข้างหน้า
องค์กรจะผลิตสินค้าใด
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
•
ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น
โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม
ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
•
ช่วยลดต้นทุน
การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว
หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
•
ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว
ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
(machine to machine) หรือคนกับคน (human to human)
หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
•
ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหากระบบสารสนเทศนั้นออกแบบ
เพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด
จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
และทำให้การประสานงาน
หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น
ประสิทธิผล (Effectiveness)
•
ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร
เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support
systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support
systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น
อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
•
ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน
ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่
หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ
หรือทรัพยากรที่มีอยู่
•
ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า
สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย
•
ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive
Advantage)
•
คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working
Life)
แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การตรวจสอบข้อมูล
3. การประมวลผล
4. การจัดเก็บข้อมูล
5. การวิเคราะห์
6. การนำไปใช้
แหล่งสารสนเทศ หมายถึง สถานที่ที่มีสารสนเทศสะสมอยู่
และเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้สารสนเทศเหล่านั้นได้ แบ่งได้เป็น
6 ประเภท ดังนี้
1.
แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน จำแนกได้ดังนี้
·
ห้องสมุด (Library) คือสถานที่รวมทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ
ที่อยู่ในรูปของวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์
รวมทั้งฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน และดำเนินงานต่าง ๆ
เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
·
ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) แหล่งสารสนเทศประเภทนี้แต่ละแหล่งมีชื่อต่าง ๆ กัน
อย่างไรก็ตามล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น
ศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์เอกสารประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี
และศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร
2.
แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ ได้แก่ อนุสาวรีย์ โบราณสถาน
อุทยานแห่งชาติรวมถึงสถานที่จำลองด้วย เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปราสาท หินพิมาย
เมืองโบราณ เป็นต้น แหล่งสารสนเทศเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง
ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก
ข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ก็คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล
การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้รอบรู้ในสาขาต่างๆ ผู้ต้องการ
สารสนเทศจากบุคคลต้องไปพบปะสนทนาหรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดย
ตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ
4.
แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เช่น การประชุมการสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ นิทรรศการหรืองานแสดงต่างๆ
รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ เช่น "14 ตุลา"ในปี
พ.ศ. 2516 "พฤษภาทมิฬ" ในปี พ.ศ. 2535
เป็นต้น
5.
ศูนย์บริการสารสนเทศแบบซีดีรอม และแบบออนไลน์
ศูนย์บริการประเภทนี้มีวิวัฒนาการ
สืบเนื่องมาจากศูนย์สารสนเทศที่ได้อธิบายไปข้างต้น เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ก้าวหน้ามากขึ้น ศูนย์ฯ จึงนำ IT มาเป็นเครื่องมือ
ในการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะสามารถให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วกว่า IT
ที่
ศูนย์บริการสารสนเทศนำมาใช้มีทั้งการจัดทำเป็นซีดีรอมให้ผู้ขอซื้อบริการ
ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ บรรดาห้องสมุดต่างๆ และการจัดบริการออนไลน์ ให้ห้องสมุดต่างๆ
ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาบทความ ในฐานข้อมูลที่ศูนย์ได้จัดทำขึ้น อย่างไรก็ตาม
การใช้ซีดีรอมนั้น มีปัญหาในเรื่อง ความสมบูรณ์ และทันสมัยของเนื้อหา
ดังนั้นจึงนิยมใช้การค้นแบบออนไลน์มากกว่า
แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
6.
อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เพราะหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย สำนักข่าวสาร และสมาคมวิชาชีพ
ต่างก็จัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก
จึงทำให้อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศมากมาย
การที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการจึงต้องรู้ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการ
โดยเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์ในการค้นหาที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการคือ
Search Engine ซึ่งมีหลายลักษณะ
คือ
· Major Search Engine - Search Engine ที่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง
เป็น Search Engine ชั้นนำ เพื่อค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ
เช่น Google.com,Yahoo.com
· Meta Search Engine - Search Engine ที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่อาศัยฐานข้อมูลจาก Search Engine
อื่น ๆ หลายแห่งมาแสดง
· Directory Search Engine - Search Engine ประเภทหนึ่ง
ที่มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นหมวดหมู่
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
-ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
-ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
-ความถูกต้อง (accuracy)
-ความเชื่อถือได้ (reliability)
-การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
-ชัดเจน (clarity)
-ระดับรายละเอียด (level
of detail)
-รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
-สื่อการนำเสนอ (media)
-ความยืดหยุ่น (flexibility)
-ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
-ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
-การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
-มีระยะเวลา (time
period)
กระบวนการ (Process)
-ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
-การมีส่วนร่วม (participation)
-การเชื่อมโยง (connectivity)
องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based
information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์
(software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure)
และคน (people)
-
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่
อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต
เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
-
ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
-
ฐานข้อมูล (Database) คือ
การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
-
เครือข่าย (Network) คือ
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
และช่วยการติดต่อสื่อสาร
-
กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์
วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
-
คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่
บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ
และผู้ใช้ระบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น